การเรียนรู้ที่แท้จริง
อยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง
การเรียนวิชาในห้องเรียน
ยังเป็นการเรียนแบบสมมติ
"ดังนั้นครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์"
ได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด
วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21
ศิษย์ในศตวรรษที่ 21
- มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนพอใจ
- ต้องการดัดแปลงสิ่งต่างๆให้ตรงตามความต้องการของตน
- ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง
- เป็นตัวของตัวเอง
- ความสนุกสนานเป็นส่วนหนึ่งของงาน
- ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมต่างๆ
- สร้างนวัตกรรมต่อทุกอย่างในชีวิต
ปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้
- Authentic learning
- Mental model building
- Internal motivation
- Miltiple intelligence
- Social learning
ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
ความเข้าใจบทบาทของการศึกษา
1. เพื่อการทำงานและเพื่อสังคม
2. เพื่อฝึกฝนสติปัญญาของตน
3. เพื่อทำหน้าที่พลเมือง
4. เพื่อสืบทอดจารีตและคุณค่า
ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทย
- ครูยึดหลัก "สอนน้อย เรียนมาก"
- ต้องก้าวข้ามสาระวิชา
- เน้นการออกแบบการเรียนรู้
ทักษะเพื่อการดำรงชีวิต
- สาระวิชาหลัก
- หัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21
- ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
- ทักษะด้านการสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
- ทักษะชีวิตและอาชีพ
- ครูต้องจัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้เพิ่มเติม
ศาสตราใหม่สำหรับครูเพื่อศิษย์
3R - Reading
- (W)Riting
- (A)Rithmetics
7C - Critical thinking & problem solving
- Creativity & Innovation
- Cross-cultural understanding
- Collaboration, teamwork & leadership
- Communications, Information & media literacy
- Computing & ICT literacy
- Career & learning skills
พัฒนาสมองห้าด้าน
1. สมองด้านวิชาและวินัย
2. สมองด้านสังเคราะห์
3. สมองด้านสร้างสรรค์
4. สมองด้านเคารพให้เกียรติ
5. สมองด้านจริยธรรม
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
การเรียนรู้ทักษะในการเรียนรู้ 1. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2. การสื่อสาร
3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ขั้นตอนการเรียนรู้ 1. Remember
2. Understand
3. Apply
4. Analyze
5. Evaluate
6. Create
การออกแบบการเรียนรู้ทักษะ
1. การออกแบบการเรียนรู้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหา
2. การออกแบบการเรียนรู้ทักษะการสื่อสารและความร่วมมือ
3. การออกแบบการเรียนรู้ทักษะด้านความสร้างสรรค์และนวัตกรรม
ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
- การเรียนแบบ PBL
- เน้นการตั้งคำถามมากกว่าการหาคำตอบ
- ต้องเรียนเองโดยการฝึกฝน
ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
ทักษะด้านสารสนเทศ - ทักษะในการเข้าถึง
- ทักษะในการประเมินความน่าเชื่อถือ
- ทักษะในการใช้อย่างสร้างสรรค์
- เข้าถึงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะด้านสื่อ - ด้านรับสารจากสื่อ
- ด้านสื่อสารออกไปยังสาธารณะ
ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - ใช้เทคโนโลยีเพื่อวิจัย
- ใช้เครื่องมือสื่อสาร
- ปฏิบัติตามคุณธรรมและกฎหมาย
ทักษะด้านความเป็นนานาชาติ
- การเรียนแบบ PBL
- ครูต้องศึกษาวัฒนธรรมต่างประเทศ
ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต
- ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
- การมีผลงานและความรับผิดชอบ ตรวจสอบได้
แนวคิดการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อศิษย์
สมดุลใหม่ในการทำหน้าที่ครูเพื่อศิษย์
ขึ้นกับครู/ครูเป็นตัวตั้ง(Teacher-directed) เด็กเป็นหลัก(Leamer-centered)
สอน แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ความรู้ ทักษะ
เนื้อหา กระบวนการ
ทักษะพื้นฐาน ทักษะประยุกต์
ข้อความจริงและหลักการ คำถามและปัญหา
ทฤษฎี ปฏิบัติ
หลักสูตร โครงการ
ช่วงเวลา ตามความต้องการ
เหมือนกันทั้งห้อง (One-size-fits-all) เหมาะสมรายบุคคล (Personalized)
แข่งขัน ร่วมมือ
ห้องเรียน ชุมชนทั่วโลก
ตามตำรา ใช้เว็บ
สอบความรู้ ทดสอบการเรียนรู้
เรียนเพื่อโรงเรียน เรียนเพื่อชีวิต
สอนน้อย เรียนมาก
- PLC - professional learning communities
- สอนน้อย คือ สอนเท่าที่จำเป็น
- ทบทวนผลการเรียนรู้มาก
- ครูเพื่อศิษย์ต้องฝึกเป็นนักตั้งคำถาม
- เรียนวิชา STEM คือ Science, Technology, Engineering และ Mathematics
การเรียนรู้อย่างมีพลัง
- จักรยานแห่งการเรียนรู้
- เครือข่ายเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์
- Plan คือ การวางแผนการทำงานในโครงการ
- นักเรียนต้องได้เรียนแบบ PBL (Project-Based Learning)
- นักเรียนจะเรียนได้ดีหากได้รับการสอนเรื่อง how to learn และ what to learn
- การเรียนกลุ่มย่อยแบบร่วมมือกัน (Collaborative Small-Group Learning)
การเรียนรู้แบบใช้โครงการ
1. ผลของโครงการตอบสนองหรือผูกพันอยู่กับหลักสูตรและเป้าหมายการเรียนรู้
2. คำถามหลักและปัญหาหลักนำไปสู่การเรียนรู้หลักการสำคัญของเรื่องนั้น หรือของสาระวิชา
3. การค้นคว้าของนักเรียนเกี่ยวข้องกับความสงสัยใฝ่รู้ (inquiry) และการสร้างความรู้
4. นักเรียนทำหน้าที่รับผิดชอบการออกแบบ และการจัดการการเรียนรู้ของตนเป็นส่วนใหญ่
5. โครงการอยู่บนฐานของคำถามและปัญหาในชีวิตจริง เป็นของจริง นักเรียนไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่อง หลอก ๆ
- การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานคิด (Problem-Based Learning)
ครูเพื่อศิษย์ชี้ทางแห่งหายนะที่รออยู่เบื้องหน้า
- ครูอาจเลือกข่าวหนังสือพิมพ์มาให้นักเรียนวิพากษ์กัน
- ร่วมกันระดมความคิดบทเรียนชีวิตที่จะฝึกตนไม่ให้หลงไปกับมายาของโลก
จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อศิษย์
สมดุลระหว่างความง่ายกับความยาก
ความจริงเกี่ยวกับการคิด ๓ ประการ ที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อเดิม
1. การคิดทำได้ช้า
2. การคิดนั้นยาก ต้องใช้ความพยายามมาก
3. ผลของการคิดนั้นไม่แน่ว่าจะถูกต้อง
ความคิดกับความรู้เกื้อกูลกัน
- ความคิดกับความจำเชื่อมโยงกัน
- ฝึกทักษะการจำ เพื่อให้มีทั้งความจำใช้งาน (working memory)
- หน้าที่สำคัญของครู คือสร้างแรงบันดาลใจใคร่เรียนรู้
เพราะคิดจึงจำ
- ผู้เรียนซึมซับเข้าไปไว้ในความจำ
ครูที่เก่งมีคุณลักษณะสำคัญ ๒ ด้าน 1. รักเอาใจใส่เด็ก
2. สามารถออกแบบการเรียนรู้ ให้น่าสนใจและเข้าใจง่าย
- ความจำเป็นผลของการคิด
ความเข้าใจคือความจำจำแลง สู่การฝึกตนฝนปัญญา
การฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ทักษะพื้นฐานทางการเขียน มีประโยชน์ ดังนี้
1. ได้ทักษะคิดลึก และได้ความรู้ที่ลึก
2. ป้องกันการลืม
3. ช่วยการนำไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ (transfer)
การฝึกฝนมีเป้าหมาย ๒ ระดับ - ระดับแรก คือ ให้พอทำเป็น (minimum competence)
- ระดับที่ 2 คือ ให้ชำนาญ (proficiency)
ฝึกฝนจนเหมือนตัวจริง
คนหัดใหม่มีวิธีทำให้ตนเองคิดแบบผู้เชี่ยวชาญด้วย ๔ กลไก
1. เพิ่มต้นทุนความรู้ (background knowledge หรือ longterm memory) และจัดระบบไว้อย่างดี ให้ พร้อมใช้ (เรียกว่า functional knowledge) ดึงเอาไปใช้ตรงตามสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว
2. ฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถใช้พื้นที่ความจำใช้งานที่มีจำกัดในการคิดได้มากและซับซ้อน ขึ้น
3. ฝึกคิดแบบลึก (deep structure) หรือแบบ functional หรือคิดตีความหาความหมาย (meaning) ไม่ใช่คิดแบบตื้น (surface structure) ตามที่ตาเห็น
4. คุยกับตัวเองว่า กำลังขบปัญหาอะไรอยู่ ในลักษณะของการมองแบบนามธรรม หรือแบบสรุป รวบยอด (generalization) และตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการแก้ปัญหานั้นไปในตัว
สอนให้เหมาะต่อความแตกต่างของศิษย์
นักเรียนมีความแตกต่าง ๓ แนว
1. ความสามารถทั่วไปในการเรียนรู้ อาจเรียกว่าเด็กฉลาด เด็กหัวไวเด็กหัวช้า
2. รูปแบบการเรียน ตามทฤษฎีมีผู้เรียนแบบเน้นจักษุประสาท แบบเน้นโสตประสาท และแบบเน้น การเคลื่อนไหว (Visual, Auditory, and Kinesthetic Learners Theory)
3. ความฉลาด ๘ ด้าน ตามทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences)
- ทฤษฎีผู้เรียนแบบเน้นจักษุประสาท แบบเน้นโสตประสาท และแบบเน้นการเคลื่อนไหว (Visual, Auditory, and Kinesthetic Learners Theory)
- ทฤษฎีพหุปัญญาหรือ ความถนัด ๘ ด้าน (Multiple Intelligences Theory)
ช่วยศิษย์ที่เรียนอ่อน
- ความฉลาดของเด็กอยู่ในมือเรา
- จงชื่นชมพรแสวงของศิษย์ให้มากกว่าพรสวรรค์
ฝึกฝนตนเอง
ความจำในระยะยาวสำหรับการทำหน้าที่ครูนี้ 1. ความรู้เชิงสาระวิชา
2. ความรู้เชิงเทคนิคการสอนสาระวิชา
3. ความรู้เชิงความรู้ทั่ว ๆ ไป
การสะท้อนผลกลับ
1. เป็นคำวิพากษ์ที่ให้กำลังใจ (Supportive) ไม่สร้างความรู้สึกว่าถูกกดดัน ซึ่งไม่ได้หมายความ ว่ามีแต่คำชมอย่างหลอก ๆ ส่วนที่ชมก็ต้องแสดงความจริงใจและเป็นความจริง ที่สำคัญคือ ไม่ใช่เป็นการจับผิด แต่เป็นการสะท้อนภาพที่มีทั้งภาพบวกและภาพลบ และต้องเอาใจใส่ทั้ง สาระ น้ำเสียง และสีหน้าท่าทางของการวิพากษ์
2. บอกพฤติกรรมที่เห็น ไม่ใช่บอกคำวินิจฉัยของตนเอง เช่น ไม่ใช่บอกว่า “ห้องเรียนสับสน อลหม่าน” แต่บอกว่า “สังเกตเห็นว่านักเรียนไม่ค่อยฟังสิ่งที่ครูพูด”
3. บอกสิ่งที่เพื่อนบั๊ดดี้แสดงความต้องการให้สะท้อนผลกลับ เท่านั้นแม้จะเห็นส่วนอื่นที่เป็นข้อ เรียนรู้ของตน แต่เพื่อนบั๊ดดี้ไม่ได้ขอให้บอก ก็ไม่ต้องบอก เป็นการแสดงความเคารพต่ออัตตา หรือความเป็นส่วนตัวของเพื่อน ประเด็นสำคัญที่เพื่อนบั๊ดดี้ยังไม่ได้ขอให้สะท้อนผลกลับนี้ จะ โผล่ขึ้นมาเองในการดูวิดีทัศน์เพื่อสะท้อนภาพ ซึ่งกันและกันในคราวต่อ ๆ ไป
เปลี่ยนมุมความเชื่อเดิมเรื่องการเรียนรู้
บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้131
กำเนิดอานิสงฆ์ของ PLC
การศึกษาต้องเปลี่ยนจากเน้นการสอน (ของครู) มาเป็นเน้นการเรียน (ของนักเรียน)
ครูเปลี่ยนจากการบอกเนื้อหาสาระ มาเป็นทำหน้าที่สร้างแรงบันดาลใจ
PLC คือเครื่องมือที่จะช่วยนำไปสู่การตั้งโจทย์และทำ “วิจัยในชั้นเรียน”
หักดิบความคิด
PLC เป็นกิจกรรมที่ซับซ้อน (complex) มีหลากหลายองค์ประกอบจึงต้องนิยามจากหลายมุม โดยมีแง่มุมที่สำคัญต่อไปนี้ - เน้นที่การเรียนรู้
- มีวัฒนธรรมร่วมมือกันเพื่อการเรียนรู้ของทุกคน ทุกฝ่าย
- ร่วมกันตั้งคำถามต่อวิธีการที่ดี และตั้งคำถามต่อสภาพปัจจุบัน
- เน้นการลงมือทำ
- มุ่งพัฒนาต่อเนื่อง
- เน้นที่ผล (หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของศิษย์)
ความมุ่งมั่นที่ชัดเจนและทรงคุณค่า
บัญญัติ ๗ ประการ ให้หาทางดำเนินการเพื่อจัดการการเปลี่ยนแปลง
1. หาทางจัดโครงสร้างและระบบเพื่อหนุนการเดินทางหรือขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
2. สร้างกระบวนการวัดเพื่อติดตามความเคลื่อนไหว และทำความเข้าใจเรื่องสำคัญ
3. เปลี่ยนแปลงทรัพยากรเพื่อสนับสนุนสิ่งสำคัญ
4. ถามคำถามที่ถูกต้อง
5. ทำตัวเป็นตัวอย่างในเรื่องที่มีคุณค่า
6. เฉลิมฉลองความก้าวหน้า
7. เผชิญหน้ากับผู้ต่อต้านเป้าหมายร่วมของคณะคร
มุ่งเป้าหมายที่การเรียนรู้ (ไม่ใช่การสอน)
เน้นที่การเรียนเท่าที่จำเป็น
1. ใช้เกณฑ์๓ คำถามว่า ความรู้นี้จะคงทนจดจำไปในอนาคตหรือไม่ ความรู้นี้จะช่วยเป็นพื้นฐาน ต่อการเรียนรู้เรื่องอื่น ๆ หรือไม่ ความรู้นี้จะช่วยความสำเร็จในการเรียนรู้ในชั้นต่อไปหรือไม่
2. ใช้การประชุมระดมความคิดในกลุ่มครูที่เป็นสมาชิก PLC ด้วยบัตร ๓ คำ รักษาไว้ (keep) หยุด หรือเลิก (drop) สร้างสรรค์ (create)ทำอย่างน้อยทุก ๆ ๓ เดือน
- การเดินทางของ PLC ที่ครูร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และร่วมกันตีความทำความเข้าใจผลที่เกิดขึ้น
เมื่อนักเรียนบางคนเรียนไม่ทัน
ระบบช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนอ่อนนี้มีลักษณะเป็นไปตามตัวย่อว่า SPEED
- Systematic (ทำเป็นระบบ) หมายถึง มีการดำเนินการเป็นระบบทั้งโรงเรียน ไม่ใช่เป็นภาระของครูประจำชั้นแต่ละคน และมีการสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษร (ใคร ทำไม อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร) ไปยังทุกคน ได้แก่ ครู (ทีมของโรงเรียน) พ่อแม่ และนักเรียน
- Practical (ทำอย่างเหมาะสม) การดำเนินการช่วยเหลือเป็นไปได้ตามทรัพยากรที่มีอยู่ของโรงเรียน (เวลา พื้นที่ ครู และวัสดุ) และดำเนินการได้ต่อเนื่องยั่งยืน ทั้งนี้ ไม่ต้องการทรัพยากรใด ๆ เพิ่ม แต่ต้องมีการจัดการทรัพยากรเหล่านั้นแตกต่างไปจากเดิม นี่คือ โอกาสสร้างนวัตกรรมในการจัดการทรัพยากรของโรงเรียน
- Effective (ทำอย่างได้ผล) ระบบช่วยเหลือต้องใช้ได้ผลตั้งแต่เริ่มเปิดเทอม มีเกณฑ์เริ่มเข้าระบบและออกจากระบบที่ยืดหยุ่นเพื่อให้เหมาะสมสำหรับช่วยเหลือนักเรียนที่แตกต่างกัน และเพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ได้ผลดีแก่นักเรียนทุกคน
- Essential (ทำส่วนที่จำเป็น) ระบบช่วยเหลือต้องทำแบบมุ่งเน้นที่ประเด็นเรียนรู้สำคัญตามผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Learning Outcome) ที่กำหนดโดยการทดสอบทั้งแบบประเมินเพื่อพัฒนา (formative assessment)และ แบบประเมินได้-ตก (summative assessment )
- Directive (ทำแบบบังคับ) ระบบช่วยเหลือต้องเป็นการบังคับ ไม่ใช่เปิดให้นักเรียนสมัครใจ ต้องดำเนินการในเวลาเรียนตามปกติ ครูหรือพ่อแม่ไม่มีสิทธิ์ขอยกเว้นให้แก่นักเรียนคนใด
มุ่งที่ผลลัพธ์ ไม่ใช่แผนยุทธศาสตร์
- การตั้งเป้าที่ดีและการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้า ต้องมีข้อมูลที่ดี ที่ทันกาล สำหรับนำมาใช้ประโยชน์
พลังของข้อมูลและสารสนเทศ
- ให้ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาเป็นผู้ออกข้อสอบ
- KM หรือกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทีม PLC
- การให้คุณค่าต่อการพัฒนา
ประยุกต์ใช้ PLC ทั่วทั้งเขตพื้นที่การศึกษา
- เน้นที่บทบาทผู้บริหาร
วิธีจัดการความเห็นพ้องและความขัดแย้ง
- ประชุมระดมความคิดโดยใช้การคิดแบบหมวกหกใบ
- ความเห็นไม่ตรงกันไม่เป็นไร หากร่วมกันทำเป็นใช้ได้
ชุมชนแห่งผู้นำ
- โรงเรียนจะกลายเป็นองค์กรเรียนรู้
PLC เป็นเครื่องมือของการเปลี่ยนชีวิตครู
- เปลี่ยนระดับจิตวิญญาณและวัฒนธรรม
เวทีครูเพื่อศิษย์ไทยครั้งแรก
ครูเพื่อศิษย์ ต้องฝึกทักษะ
1. การตีความ ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑
2. ทักษะการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำเอง
3. ทักษะการออกแบบ การอำนวยความสะดวก และการเชียร์ให้ศิษย์เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ
4. ทักษะการประเมินความก้าวหน้าเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของศิษย์ที่เป็น formative evaluation หรือ empowerment evaluation
เรื่องเล่าตามบริบท203
เรื่องเล่าของครูฝรั่ง
เตรียมทำการบ้านเพื่อการเป็นครู
ให้ได้ความไว้วางใจจากศิษย์
สอนศิษย์กับสอนหลักสูตร แตกต่างกัน
ถ้อยคำที่ก้องอยู่ในหูเด็ก
เตรียมตัว เตรียมตัว และเตรียมตัว
จัดเอกสารและเตรียมตนเอง
ทำสัปดาห์แรกให้เป็นสัปดาห์แห่งความประทับใจ
เตรียมพร้อมรับ “การทดสอบครู” และสร้างความพึงใจแก่ศิษย์
วินัยไม่ใช่สิ่งน่ารังเกียจ
สร้างนิสัยรักเรียน
การอ่าน
ศิราณีตอบปัญหาครู และนักเรียน
ประหยัดเวลาและพลังงาน
ยี่สิบปีจากนี้ไป
เรื่องเล่าโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
วีธีการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑
เคาะกระโหลกด้วยกะลา
เรื่องเล่าของโรงเรียนนอกกระลา
ความสำเร็จทางการศึกษา
ความฉลาดทางด้านร่างกาย
ความฉลาดทางด้านสติปัญญา
ทำไมต้องเรียนคณิตศาสตร์
เรื่องเล่าครูเพลินกับการพัฒนา
การยกคุณภาพชั้นเรียน ๑
การยกคุณภาพชั้นเรียน ๒
เรียนรู้จากจำนวนและตัวเลข
การ “เผยตน” ของฟลุ๊ค
มองอนาคต...ปฏิรูปการศึกษาไทย341
เรียนรู้จาก Malcolm Gladwell
- เป็นการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ
(interactive learning through action)
- ครู (หรือพ่อแม่) ต้องชวนนักเรียน (หรือลูกหลาน) ทบทวนการเรียนรู้ (reflection หรือ AAR)
- ทักษะนี้สอนไม่ได้แต่เรียนรู้ได้
Inquiry-Based Learning
- เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนตั้งคำถาม
- ต้องเน้นการเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะส่งเสริมความริเริ่มสร้างสรรค์
ทักษะการจัดการสอบ
- ต้องมอง
การสอบเป็น “ตัวช่วย” ต่อการเรียนรู้
- ต้องเปลี่ยนการสอบให้เป็นการวัดการเรียนรู้ที่แท้จริงของศิษย์
PLC สู่ TTLC หรือ ชุมชนครูเพื่อศิษย์
- ครูเพื่อศิษย์ต้องออกแบบการเรียนรู้ของศิษย์ของตน โดยศึกษาหลักการจากตัวอย่างที่มีในประเทศไทยและในต่างประเทศ
แรงต้านที่อาจต้องเผชิญ
1. นโยบายการศึกษายังเป็นนโยบายสำหรับยุคอุตสาหกรรม เน้น mass education และเน้นประสิทธิภาพซึ่งเคยใช้ได้ผล แต่บัดนี้ตกยุคเสียแล้ว
2. ระบบตรวจสอบและระบบวัดผลแบบทดสอบตามมาตรฐาน (standardized testing systems) ที่เน้นวัดความสามารถด้านทักษะพื้นฐานเช่นการอ่าน การคิดเลข แต่ไม่วัดทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
3. แรงเฉื่อยหรือความคุ้นเคยกับระบบการสอนแบบครูบอกเนื้อหาวิชาให้นักเรียนจดจำ ที่ทำต่อ ๆ กันมาหลายสิบปีหรือเป็นร้อยปี แม้จะมีครูจำนวนหนึ่งเปลี่ยนไปแล้ว คือเปลี่ยนไปทำหน้าที่ช่วยเหลือเด็กให้สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ผ่านการค้นพบ การสำรวจ และการเรียนจากโครงงาน (PBL - Project Based Learning)
4. ผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมพิมพ์จำหน่ายตำราเรียน
5. ความหวั่นกลัวว่าความรู้เชิงทฤษฎีจะถูกละเลย หันไปให้ความสำคัญต่อทักษะมากเกินไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ความรู้ ๒ แนวนี้ต้องเกื้อกูล (synergy) ซึ่งกันและกัน
6. อิทธิพลของพ่อแม่ที่ยึดติดกับการเรียนแบบดั้งเดิมที่ตนเคยเรียนมาและทำให้ตนประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน จึงอยากให้ลูกหลานได้เรียนตามแบบที่ตนเคยเรียน สอบข้อสอบที่ตนเคยสอบ และรู้สึกไม่สบายใจที่โรงเรียนทดลองวิธีการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ตนไม่คุ้นเคย และอาจทำให้ลูกหลานของตนไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต
สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
1. ยกเลิกระบบการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งของครู (คศ.) ที่ใช้ในปัจจุบัน คือให้ “ทำผลงาน” ในกระดาษ และมีการติววิธีทำผลงาน เปลี่ยนมาเป็นเลื่อนตำแหน่งเมื่อผลสัมฤทธิ์ของลูกศิษย์ได้ผลดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการทดสอบระดับชาติ ๓ ปีติดต่อกัน จนได้ผลในระดับผ่านเกินร้อยละ๙๐ ของจำนวนเด็กนักเรียนทั้งหมด ซึ่งหมายความว่า ต้องมีการทดสอบระดับชาติในทุกชั้น
2. มีเป้าหมายและยุทธศาสตร์เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของศิษย์ทั้งโรงเรียน หรือทั้งเขตการศึกษา แล้วคณะครูและทุกฝ่ายช่วยกันดำเนินการ เน้นที่การมี PLC ระดับโรงเรียน ระดับเขตการศึกษา และระดับประเทศ เมื่อนักเรียนทั้งโรงเรียน หรือทั้งเขตการศึกษาสอบ National Education Test (NET) ผ่านเกินร้อยละ ๙๐ ก็ได้รับรางวัลทั่วทั้งโรงเรียน หรือทั่วทั้งเขตการศึกษา
3. ปราบปรามคอรัปชั่นเรียกเงินในการบรรจุหรือโยกย้ายครู นี่เป็นความชั่ว ที่บ่อนทำลายระบบการศึกษาไทย ต้องมีมาตรการตรวจจับและลงโทษรุนแรง
4. แบ่งเงินลงทุนเพิ่มด้านการศึกษา ครึ่งหนึ่งไปไว้สนับสนุนการเรียนรู้ของครูประจำการในลักษณะการเรียนรู้ในการทำหน้าที่ครู ที่เรียกว่า PLC (Professional Learning Community) ซึ่งเน้นที่การเรียนรู้ (learning) ของครู ไม่ใช่เน้นที่ การฝึกอบรม (training) และเน้นการเรียนรู้เป็นกลุ่มเพื่อให้ครูจับกลุ่มช่วยเหลือกัน
5. จัดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำปี ด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
6. ยกระดับข้อสอบ National Education Test (NET) ให้ทดสอบการคิดที่ซับซ้อน (complex thinking) และทักษะที่ซับซ้อน (complex skills) ตามแนวทางทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
7. ส่งเสริมการเรียนแบบ Project-Based Learning (PBL) โดยส่งเสริมให้มี PLC ของครูที่เน้นจัดการเรียนรู้แบบ PBL ให้รางวัลและยกย่องครูที่จัด PBL ได้เก่ง